เกษตรกรชาวสวนยางพารา จ.เลย กว่า 2,000 คน สุดทน ราคายางดิ่งต่อเนื่อง จวกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไร้น้ำยา เอาแต่มุ่งแก้รัฐธรรมนูญ เมินแก้ปัญหาเกษตรกร เอานายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ที่ไร้ความสามารถมาเป็นรัฐมนตรี ด้านผู้ว่าฯสมพงศ์รุดออกจากห้องแอร์ไปรับหนังสือร้องเรียน ก่อนม็อบพอใจ สลายตัว ขู่ให้เวลา 15 วัน หากยังเฉย จะยกพลล้อมทำเนียบรัฐบาล
ที่หน้าศาลากลาง
จ.เลย เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จ.เลย จาก
14 อำเภอ จำนวนกว่า 2,000 คน นำโดยนายสง่า ขันคำ
ประธานคณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางจังหวัดเลย , นายวิเวทย์ วิไชโย
อดีตนายกเทศมนตรีตำบลนาอาน ,
นายชัยยุทธ พิศสถาน นายกเทศบาลตำบลนาโป่ง และ นายชาติชาย มังคละไชยยา
นายกเทศมนตรีตำบลนาด้วง เดินทางมาชุมนุมเรียกร้องหลังได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากราคายางพาราตกต่ำ โดยมีการเปิดเวทีปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาลที่ผิดพลาด ไม่สนใจปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร มุ่งแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการที่เลือกเอาคนที่ไม่มีความรู้ ความสามารถอย่างนายณัฐวุฒิ ไสยเกิื้อ ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรี ดูแลปัญหายางพารา ทำให้สร้างความเสียหายกับระบบการซื้อขายยางพารา
จนทำให้ราคาตกต่ำลงไปเรื่อยๆ
ขณะเดียวกันผู้ชุมนุมยังได้ร่วมลงชื่อในหนังสือเรียกร้องต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีด้วย
นายชัยยุทธ พิศสถาน |
นายวิเวทย์ วิไชโย ยื่นหนังสือต่อ ผวจ.เลย |
ทั้งนี้ ในหนังสือเรียกร้องดังกล่าวระบุว่า ขอให้รัฐบาลกำหนดราคายางแผ่นรมควัน ชั้น 3 ไว้ที่ราคา กิโลกรัมละ 120 บาท , ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ราคากิโลกรัมละ 111 บาท , ราคายางน้ำสด ราคากิโลกรัมละ 100 บาท และราคายางก้อนถ้วย กิโลกรัมละ 102 บาท หากภายใน 15 วัน รัฐบาลไม่ทำตามข้อเรียกร้อง จะพากันเดินทางไปชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลทันที
ต่อมา นายสมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
ได้ลงมารับหนังสือเรียกร้องจากกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยตนเอง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเลยได้รับปากว่า
จะดำเนินการส่งเรื่องความเดือดร้อนของเกษตรกรไปยังรัฐบาลอย่างเร่งด่วน
และในส่วนการแก้ไขปัญหาภายในจังหวัดเบื้องต้น จะให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
เร่งสำรวจความเดือดร้อน รวบรวมส่งให้รัฐบาลอีกทางหนึ่งด้วย
นายสง่า ขันคำ
ประธานคณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางจังหวัดเลย กล่าวว่า
จังหวัดเลยมีพื้นที่ปลูกยางพารา
ปัจจุบันจำนวนประมาณ 750,000 ไร่ เกษตรกรจำนวน 60,000 ครัวเรือน มีพื้นที่ที่เปิดกรีดได้แล้ว 300,000 ไร่
ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเกษตรกรที่มาจากโครงการส่งเสริมการปลูกยางพาราในปี 2547-
2549 สมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้นรัฐบาลควรดูแลแก้ปัญหาให้เกษตรกรโดยเร็ว ซึ่งทางเครือข่ายฯ ได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาราคาตำต่ำ
คือ ให้รัฐบาลออกกฎหมายให้กระทรวงคมนาคม
นำยางธรรมชาติไปเป็นส่วนผสมของยางมะตอยในการทำถนนลาดยางในประเทศ และให้รัฐบาลนำเอายางพาราธรรมชาติไปผลิตเป็นท่อน้ำ
ใช้ในโครงการชลประทานระบบท่อในประเทศด้วย.
หลังการรับข้อเรียกร้องจากผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กลุ่มผู้ชุมนุมแสดงความพอใจ และได้แยกย้ายกันกลับภูมิลำเนา รอฟังคำตอบต่อไป.
หลังการรับข้อเรียกร้องจากผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กลุ่มผู้ชุมนุมแสดงความพอใจ และได้แยกย้ายกันกลับภูมิลำเนา รอฟังคำตอบต่อไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น