เกษตรกรจังหวัดเลยจัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตรกรรม โดยใช้เทคโนโลยีกำหนดแผนที่ สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และชลประทาน หนุนเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อย 200,000 ไร่ นำร่อง 8 อำเภอที่ไม่เหมาะกับการปลูกข้าว
นายวัฒนมงคล ทรัพย์มี |
นายวัฒนมงคล
ทรัพย์มี เกษตรจังหวัดเลย เปิดเผยว่า
จังหวัดเลย ได้ประกาศเขตพื้นที่เพื่อบริหารจัดการเกษตรกรรม (Zonimg)
ตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งชนิดดิน ปริมาณน้ำ สภาพภูมิอากาศ เขตชลประทาน และระดับความสูงของพื้นที่
รวมทั้งด้านเศรษฐกิจ เช่น เส้นทางคมนาคม แหล่งตลาด ที่ตั้งโรงงาน
เพื่อเป็นการขังเคลื่อนนโยบายให้เป็นรูปธรรม
จังหวัดเลยจึงได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสม
ให้เป็นอ้อยโรงงาน
เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบาย โดยได้ดำเนินงานใน 8 อำเภอนำร่อง คือ
อำเภอเมืองเลย วังสะพุง นาด้วง เอราวัณ หนองหิน ผาขาว ภูกระดึง และภูหลวง
มีเป้าหมายขยายพื้นที่ไร่อ้อย 200,000 ไร่
แต่มีข้อจำกัดในด้านระยะทางการขนส่งจากไร่นาสู่โรงงาน
จึงสามารถปรับเปลี่ยนได้เพียง 90,000 ไร่ ทั้งนี้ เพื่อเพื่อแก้ไขปัญหา
ให้ตรงตามความต้องการและศักยภาพในพื้นที่โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ได้แก่ หน่วยงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด พัฒนาที่ดิน
สำนักงานปฏิรูปที่ดิน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร
โรงงานน้ำตาล กำหนดกระบวนงานร่วมกัน
เกษตรจังหวัดเลยกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม จากการนำการทำงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่
มาใช้ทำให้ได้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวไม่เหมาะสมเป็นอ้อยโรงงาน
ในพื้นที่ 8 อำเภอ
ซึ่งมีเกษตรกรเข้าแจ้งความจำนง ร่วมโครงการ 2,775
ราย พื้นที่ 21,800 ไร่ ปรับเปลี่ยนแล้ว 630
ราย พื้นที่ 4,647 ไร่ สำหรับ เป้าหมายการปรับเปลี่ยนปี 2557 เกษตรกร 1,000 ราย พื้นที่ 5,000 ไร่
นอกจากข้าวและอ้อยแล้ว
การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพืชเศรษฐกิจของจังหวัดยังครอบคลุมไปถึง มันสำปะหลัง
ยางพารา สับปะรด กล้วย
ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อให้การดำเนินงานในระดับพื้นที่มีความถูกต้อง เจาะจง
สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและลดขั้นตอน
เป็นการบริหารจัดการพื้นที่ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
และจัดกิจกรรมการส่งเสริมและการให้บริการทางการเกษตรได้ถูกต้อง เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมาย เกษตรจังหวัดเลยกล่าว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น