อพท. เลย เตรียมส่งสรุปโครงการกระเช้าไฟฟ้าสู่
ครม.มกราคม 2558 สำหรับระยะเวลาการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง
1 ปี ผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างคือรัฐบาลไทย งบประมาณการก่อสร้าง 500 ล้านบาท
จำกัดนักท่องเที่ยวที่ 8,000 คน/วัน
นายประเสริฐ
กมลวัทนนิศา
ผู้จัดการพื้นที่พิเศษเลย กล่าวว่า
พื้นที่พิเศษเลยได้รับความเห็นจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 ประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย ครอบคลุมพื้นที่ 4,495,645
ไร่ สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง
อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นยุทธศาสตร์ของพื้นที่พิเศษเลย ดำเนินการในปีงบประมาณ 2557 โดยว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท แกรนเทค
จำกัด และบริษัท ไทยซิสเทมเอนไวแอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด เพื่อให้ได้มาถึงข้อมูลข้อเท็จจริง การวิเคราะห์
ประเมินผล การคาดคะเน
การกำหนดทางเลือกการสร้างสถานการณ์จำลองที่เกี่ยวกับการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าฯเพื่อนำเสนอต่อสาธารณชนและคณะรัฐมนตรีพิจารณาตัดสินใจต่อไปด้านศักยภาพของโครงการกระเช้าไฟฟ้าฯนั้นเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนด้านการท่องเที่ยว
ช่วยประหยัดในการเดินทางขึ้น-ลง เพื่อเป็นแม่เหล็กในการดึงความสนใจการท่องเที่ยว
เป็นโอกาสพัฒนาทั้ง 9 อำเภอจังหวัดเลยได้แก่ เชียงคาน
เมืองเลย นาแห้ว หนองหิน ภูกระดึง ภูเรือ
ท่าลี่ ด่านซ้าย และ ภูหลวง ที่เป็นพื้นที่พิเศษเลย เน้นการท่องเที่ยวริมโขง ภูผา ธรรมชาติ
วัฒนธรรมประเพณี อนุรักษ์ฟื้นฟูให้ความรู้
สู่ระดับสากล โครงการในแผนรวม 50
โครงการ
ผู้จัดการพื้นที่พิเศษเลย กล่าวอีกว่า สำหรับกระเช้าไฟฟ้าก็เป็นหนึ่งในจำนวนโครงการ เพื่อเพิ่มโอกาสพัฒนาอาชีพและรายได้และยังเพิ่มเศรษฐกิจจากกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนและจังหวัดเลยโดยรวมอีกด้วย
สรุปผลการศึกษาแล้ว ณ ขณะนี้ เสร็จแล้วและปิดโครงการเดือน
พ.ย.2557 พร้อมกับบันทึกข้อตกลงหรือ
MOU เพื่อขับเคลื่อนเชิงสร้างสรรค์แบบ 360 องศา.กับทางจังหวัดเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
และองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านการทองเที่ยว รวมทั้ง IECM แล้ว
ทั้งนี้
กระเช้าเป็นเครื่องมือควบคุมสิ่งแวดล้อมมีการจัดการแบบใหม่ขึ้นมากบริหารจัดการและยังเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มวัย
อาชีพ จะเป็นตัวแม่เหล็กสร้างเศรษฐกิจสูง สามารถขึ้นได้หลายครั้ง สำหรับแนวการก่อสร้างจาก 5 แนวทางการก่อสร้างพิจารณาแล้วเหลือ 1 แนวที่เหมาะสมที่สุดคือแนว B มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดไม่ไปบังทัศนวิสัยของคนเดินเท้าขึ้น แทบจะไม่ได้ยินเสียง ใช้เสา 7 เสาไม่มาก ฐานล่างใช้พื้นที่
50 ตรม.การลากสายก็ใช้เฮลิคอปปเตอร์ลาก ไม่มีการตัดต้นไม้ใหญ่อย่างใด
ตามรายทางใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยจะไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเส้นทางที่มีความลาดชันที่ไม่มากนัก ใช้กระเช้าขับเคลื่อนแบบคาโนล่า ขับเคลื่อน 6
เมตร/วินาที
ด้านล่างจะห่างจากทางเดินขึ้นประมาณ 1 กม.ด้านบนห่างจากหลังแปประมาณ
300 เมตร
นายพิเศษ
เสนาวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการท่องเที่ยว/การจัดการสิ่งแวดล้อม
กล่าวว่า ขณะนี้ได้โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง
อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลยทำการศึกษาด้านต่าง ๆ รวมทั้งการทำประชาคม ประชาวิจารณ์ตามตำบล
อำเภอ จังหวัดเลย เสร็จเรียบร้อยทุกขั้นตอน
รวมทั้งทางออนไลน์ 1,000 คน
ตอบมาเห็นด้วยกว่าร้อยละ 60 จากนั้นจะจัดประชุมกับกลุ่มอนุรักษ์ต่างๆผู้เชี่ยวชาญจากภูมิภาค ลูกหาบ ขึ้นที่ส่วนกลาง จากนั้นนำเข้า อพท.ส่วนกลางและเดือน มกราคม 2558
จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่ง
ครม.ให้ความสนใจมากสำหรับโครงการดังกล่าว
นายพิเศษกล่าวอีกว่า กรณีลูกหาบที่เคยมี 300
คน ปัจจุบันเหลือหาบจริงเพียง 100 กว่าคนเท่านั้น
เนื่องจากสภาพร่างกาย อายุสูงขึ้น และบุตร-หลาน ก็ไม่สืบสานต่อ ในจำนวนลูกหาบที่ภูกระดึง 100 คน มี 90 คน
บอกว่าถ้ามีทางเลือกเขาจะไม่เป็นลูกหาบแต่ที่ทำอยู่เพราะว่าไม่มีทางเลือกให้กับเขาเหล่านั้น
สามารถมีงานทำมีรายได้ทุกเดือนที่ผ่านมาทำงานเพียง 8 เดือนเท่านั้น เมื่อถึงหลังแปจะเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึงก็จะมีทั้งบริการด้วยรถด้วยพาหนะนำเที่ยว
และการเดินเท้า มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอดเส้นทาง สำหรับระยะเวลาการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง
1 ปี ผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างคือรัฐบาลไทย งบประมาณการก่อสร้าง 500 ล้านบาท
การจำกัดนักท่องเที่ยวนั้น เดิมที่ยังไม่มีกระเช้าไฟฟ้าทางกกรมอุทยานฯจำกัดไว้ที่ 5,000 คน/วัน หากสร้างกระเช้าบริการก็จะจำกัดไว้ที่ 8,000 คน/วัน
รวมนักท่องเที่ยวทั้งการเดินเท้าขึ้น
และใช้กระเช้าไฟฟ้าฯขึ้น ส่วนการจองก็จองได้ทางออนไลน์ นายพิเศษกล่าว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น