ที่อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดสัมมนาประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ
“มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 1” หัวข้อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากลด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ก้าวสู่ยุคอาเซียน” โดยมีผศ.สนิท
เหลืองบุตรนาค
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นประธานพิธีเปิด
ผศ.สนิท เหลืองบุตรนาค |
ผศ.ดร.เชิดเกียรติ
กุลบุตร คณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยกล่าวว่า
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
เป็นคณะที่เก่าแก่พร้อมการก่อตั้งมหาวิทยาลัย
เปิดสอนในศาสตร์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท
และปริญญาเอก ถือเป็นคณะที่มีความพร้อมในทางวิชาการเพื่อรับใช้สังคมเป็นเวลานาน
และมีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 10 กว่าสาขาวิชา
รวมทั้งบุคลากรในคณะมีผลงานการวิจัยที่หลากหลายซึ่งควรจะนำเผยแพร่สู่ชุมชนทางวิชาการ
ขณะเดียวกันถือเป็นการเปิดเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นเวทีของผู้ที่มี
ความสามารถทางศาสตร์มนุษย์และสังคมศาสตร์ ได้แสดงความสามารถ พัฒนาต่อยอดศักยภาพ
ดังนั้นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการ
“ประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 1” “ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากล
ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ก้าวสู่ยุคอาเซียน”
ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม
2559 คาดว่าผลความสำเร็จของโครงการจะก่อเกิดเอกสารทางวิชาการ
และถือเป็นการเริ่มต้นพัฒนากิจกรรมทางวิชาการในปีแรก และเป็นต้นแบบของ ปีถัดไป
สำหรับการจัดสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการและถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
, เพื่อเปิดเวทีการนำเสนองานวิจัย บทความทางวิชาการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัย
นักวิชาการ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป และเพื่อเผยแพร่บทความทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในรูปแบบ: proceedings
โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิชาการ
นักวิจัย นักศึกษา ประชาชนทั่วไป
ส่วนกิจกรรมในการสัมมนาครั้งนี้
มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล” โดย รศ.ดร.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม การแบ่งกลุ่มนำเสนอผลงานวิชาการ วิชาการหรือบทความวิจัยเชิงคุณภาพ
ที่มีเนื้อหาหลากหลายในด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากลกับประชาคมอาเซียน
ในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , การท่องเที่ยว , วิถีวัฒนธรรม ประเพณี
ความเชื่อ, ความมั่นคงทางอาหาร , ภาษาและวรรณกรรม , การจัดการความรู้ /การถ่ายทอด
, ศิลปกรรม ดนตรี , การพัฒนาชุมชน/พัฒนาสังคม/ภาษาศาสตร์และภาษาต่างประเทศภูมิภาคอาเซียน
, ประวัติศาสตร์ /ชาติพันธุ์ และการปกครองท้องถิ่น/ภาวะผู้นำ/กฎหมาย
นอกจากนี้ยังมีการลงพื้นที่ศึกษาดูงานที่บ้านนาอ้อ อ.เมืองเลย และอำเภอเชียงคานด้วย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น