ที่ปราสาทฟาง
บานาน่าแลนด์ บ้านหนองบัว ต.ภูหอ
อ.ภูหลวง จ.เลย มหาวิทยาลัยราชการภัฏเลยร่วมกับชาวบ้านหนองบัว
จัดงานแสดงนิทรรศการ
ผลงานจิตรกรรมที่นำเสนอเรื่องราวทางศิลปะและวัฒนธรรมบ้านหนองบัว ภายใต้ชื่อ
“ฉันคือชาวบ้าน ฉันคืออาร์ตติส
ฉันร่วมมือร่วมใจกันวาดเรื่องราวของชุมชน” มีนายพงษ์ทนนท์
ปัญญาประชุม นายอำเภอภูหลวงจังหวัดเลย
เป็นประธานพิธีเปิด
รองศาสตราจารย์
ดร.นัยนา อรรจนาทร ผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กล่าวว่า
โครงการจัดแสดงนิทรรศการผลงานจิตรกรรมที่นำเสนอเรื่องราวทางศิลปะและวัฒนธรรมบ้านหนองบัว
ในครั้งนี้ใช้ชื่อว่า “ฉันคือชาวบ้าน ฉันคืออาร์ตติส ฉันร่วมมือร่วมใจกันวาดเรื่องราวของชุมชน”
เกิดจากการดำเนินการวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบการรู้รักสามัคคีของชุมชนบ้านหนองบัว
โดยใช้กิจกรรมศิลปะ ที่มี
รองศาสตราจารย์ไทยโรจน์ พวงมณี
เป็นหัวหน้าโครงการ อาจารย์วิระ
อิสโร ผู้ชวยศาสตราจารย์คชสีห์ เจริญสุข
รองศาสตราจารย์
ดร.นัยนา กล่าวอีกว่า จากการเข้ามาศึกษาเรียนรู้ในชุมชนบ้านหนองบัว
พบว่าบ้านหนองบัวเป็นชุมชนที่มีความสามัคคีเป็นทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางปัญญาเดิมอยู่แล้ว
จึงพยายามค้นหากิจกรรมทางศิลปะเพื่อให้คนหลากหลายวัยที่มีอยู่ชุมชนทั้ง
คนรุ่นปู่ย่าตายาย คนรุ่นพ่อแม่
และคนรุ่นใหม่ที่เป็นเด็กและเยาวชนได้มีโอกาสเข้ามาสร้างสรรค์กิจกรรมทางศิลปะร่วมกัน
ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มที่ต้องมีคนสามวัยอยู่ด้วยกัน โดยที่คนรุ่นเก่ามีบทบาทเป็นผู้เล่าเรื่องราว ส่วนคนรุ่นผู้ใหญ่และรุ่นเด็กจะเป็นเอาสิ่งที่คนรุ่นเก่าเล่าเรื่องราวมาสู่การวิเคราะห์
ตีความหมายและเลือกเขียนถ่ายทอดสิ่งที่กลุ่มตนเองมีความสนใจและอยากนำเสนอออกมา
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในระหว่างการดำเนินการทำให้เห็นว่า
ชุมชนมีระบบการสร้างรู้รักสามัคคีและการยอมรับกันและกันผ่านการอบรมสั่งสอน เด็กเชื่อฟังผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่ยอมรับความคิดเห็นของเด็กในบางเรื่องที่ตนเองไม่รู้
โดยเฉพาะเรื่องของศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหนองบัว
อย่างไรก็ดีผลจากการศึกษาดังกล่าวทำให้เห็นว่าในชุมชนมีทั้งทุนปัญญาในเรื่องของเกษตรกรรม เรื่องของวัฒนธรรมความเชื่อที่เป็น
จิตวิญญาณของชุมชน คือพ่อพญาช้างและย่าผมหอม
ซึ่งชาวบ้านที่ร่วมกิจกรรมก็พยายามถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกจากประสบการณ์และการเห็นคุณของจิตวิญญาณที่ช่วยหล่อหลอมให้เป็นชุมชนที่ยังสามารถเก็บรักษาวัฒนธรรมและฟื้นฟูไว้ได้
การจัดนิทรรศการในวันนี้มีผลงานที่
“ศิลปินในชุมชน” ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจำนวน 20
ชิ้นใช้เทคนิควิธีการวาดภาพระบายสี ด้วยสีอคริลิก
ซึ่งเป็นสื่อที่ชาวบ้านยังไม่คุ้นเคยในการใช้มาก่อน โดยพื้นที่ในการจัดเลือกพื้นที่ในปราสาทฟางจัดวางภาพเขียนทั้ง
20 ภาพ เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาได้เห็นถึงศักยภาพและรับรู้สุนทรียภาพในผลงานที่ชาวบ้านถ่ายทอดออกมา รองศาสตราจารย์ ดร.นัยนา อรรจนาทร กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น