เมื่อวันที่ 20 มกราคม
2563 ที่ศาลากลางจังหวัดเลย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการและผู้แทนจากโรงงานน้ำตาลทั้งสองแห่งในจังหวัดเลย
มาร่วมกันประชุมและแถลงข่าวเกี่ยวกับการแก้ปัญหาภัยแล้ง
และปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลยกล่าวว่า ที่ผ่านมาทางจังหวัดได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด อำเภอ
และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่นขึ้น โดยให้ศูนย์ฯ
ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางในรับแจ้งเหตุการณ์
และบูรณาการการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
รวมทั้งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ และมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติให้เกิดความชัดเจน
ปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง
พร้อมจัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่
สำหรับอำเภอ ให้นายอำเภอประสานกับผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่
เพื่อแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้อยู่ในชุดปฏิบัติการด้วย
โดยหลังจากนี้จะมีจับกุมดำเนินคดีผู้ลักลอบเผาอ้อยและเผาป่าอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม
จะได้หารือกับหน่วยงานราชการที่ดูแลเรื่องแรงงาน
เพื่อแก้ปัญหาคนงานตัดอ้อยที่ขาดแคลนด้วย
นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย กล่าวว่า
ขณะนี้พื้นที่จังหวัดเลยมีสถานการณ์หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 ในอากาศ
อยู่ที่ 60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับสีส้ม
เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ซึ่งจากสถิติปีที่ผ่านมา คาดว่าในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน
จะเพิ่มขึ้นเป็นสีแดง
อย่างไรก็ตามในขณะนี้ ยังไม่มีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบเข้ารับการรักษาตามโรงพยาบาล
ด้านนายสมศักดิ์ จวงพลงาม ผู้แทนจากโรงงานน้ำตาลมิตรภูหลวง อ.วังสะพุง กล่าวว่า พื้นที่ปลูกอ้อยของโรงงานน้ำตาลมิตรภูหลวงในจังหวัดเลยมีประมาณ 400,000 ไร่ มีเกษตรกร 6,400 ราย ปีนี้มีผลผลิตป้อนเข้าสู่โรงงานลดลงประมาณร้อยละ 30 เพราะสภาพอากาศที่แห้งแล้ง จึงคาดว่าจะปิดหีบอ้อยได้ไม่เกินวันที่ 10 มีนาคม หรือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับมาตรการลดการเผาอ้อย ทางโรงงานมิตรภูหลวงได้รณรงค์ให้เกษตรกรตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง พร้อมตั้งรางวัลนำจับคนเผาอ้อย หากคดีถึงที่สุดแล้ว จะได้รับเงิน 50,000 บาท
ด้านนายสมศักดิ์ จวงพลงาม ผู้แทนจากโรงงานน้ำตาลมิตรภูหลวง อ.วังสะพุง กล่าวว่า พื้นที่ปลูกอ้อยของโรงงานน้ำตาลมิตรภูหลวงในจังหวัดเลยมีประมาณ 400,000 ไร่ มีเกษตรกร 6,400 ราย ปีนี้มีผลผลิตป้อนเข้าสู่โรงงานลดลงประมาณร้อยละ 30 เพราะสภาพอากาศที่แห้งแล้ง จึงคาดว่าจะปิดหีบอ้อยได้ไม่เกินวันที่ 10 มีนาคม หรือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับมาตรการลดการเผาอ้อย ทางโรงงานมิตรภูหลวงได้รณรงค์ให้เกษตรกรตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง พร้อมตั้งรางวัลนำจับคนเผาอ้อย หากคดีถึงที่สุดแล้ว จะได้รับเงิน 50,000 บาท
นายสมศักดิ์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนรถเครื่องจักรสำหรับตัดอ้อยสด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 7 คัน จากเดิม 20 คัน พร้อมกับสนับสนุนรถติดตั้งเครื่องสานใบอ้อย ปีนี้ส่งเสริมไป 170 ชุด รวมพื้นที่ประมาณ 70,000 ไร่ ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่โรงงานฯประกาศรับซื้อใบอ้อยตันละ 1,000 บาท ตั้งแต่ต้นฤดูกาลที่ผ่านมา ได้ซื้อไปแล้ว 6,000 ตัน จากที่ตั้งเป้าไว้ 40,000 ตัน ทำให้ในปีนี้โรงงานฯมีอ้อยสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 20 เป็นผลมาจากเกษตรกรให้ความร่วมมือตัดอ้อยสดเป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็สนับสนุนเงินให้แก่เกษตรกรที่ตัดอ้อยสด ขายได้เพิ่มอีกตันละ 130 บาท คาดว่าปีนี้จะได้อ้อยสดร้อยละ 70 ตามแผนที่กำหนดไว้
ด้านนายเอนก วาชัยศรี หัวหน้าแผนก ส่วนส่งเสริมไร่ โรงงานน้ำตาลขอนแก่น (KSL) กล่าวว่า ทางโรงงานได้รณรงค์ให้เกษตรกรตัดอ้อยสดมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จัดเวทีไปแล้วกว่า 60 ครั้ง ใน 9 เขตที่โรงงานส่งเสริม ซึ่งเกษตรกรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลนาแขม ไม่มีการเผาอ้อยทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นเต็ม นอกจากนี้มีการสนับสนุนเครื่องจักรสำหรับตัดอ้อยสดและเครื่องสานใบอ้อย ให้แก่เกษตรกรที่มีศักยภาพ ทำให้ปีนี้มีปริมาณอ้อยสดเข้าสู่โรงงานเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 30 .
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น