จากการที่สถานการณ์หมอกควันหรือฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ที่จังหวัดเลย ในช่วงนี้ยังคงทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อยู่ในระดับสีส้มเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน สภาพอากาศขมุกขมัว
โดยเฉพาะในตัวจังหวัด มองเห็นหมอกควันได้ปกคลุมอย่างชัดเจนนั้น
เมื่อวันที่ 4
กุมภาพันธ์ 2563 เวลาประมาณ 16.00 น. นายชัยวัฒน์
ชื่นโกสุม
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
ได้ออกคำสั่งจังหวัด ที่ 35/2513 ด่วนที่สุด
เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ระบุว่า
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันฝุ่นละออง
PM 2.5 อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตของ
ประชาชนภายในพื้นที่จังหวัดเลย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นไปตามแนวทางตามมติ คณะรัฐมนตรีวันที่ 9 ตุลาคม
2562 อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
และแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550
และพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 จึงกําหนดมาตรการควบคุมแหล่งกําเนิดมลพิษ
เพื่อระงับยับยั้งสถานการณ์ ค่าฝุ่นละออง PM 2.5
ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ทั้งนี้
ในคำสั่งดังกล่าวสั่งการให้หน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการที่สำคัญประกอบด้วย
ให้ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดเลย
สั่งการให้ผู้กํากับสถานีตํารวจภูธรทุกแห่งในเขต ความรับผิดชอบ
ออกคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ตํารวจเข้าควบคุม กํากับ ดูแล
และมอบหมายให้กําลังพลรับผิดชอบ หมู่บ้านละ 1
นาย ประสานงานกับกํานัน
ผู้ใหญ่บ้านในการลดแหล่งกําเนิดฝุ่นละออง ทั้งนี้ ให้มีอํานาจตาม
พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
เพื่อเข้าไปควบคุมพื้นที่หรือควบคุมแหล่งกําเนิดที่
ก่อให้เกิดเหตุรําคาญหรือผลกระทบต่อประชาชน
ประสานการดําเนินคดีต่อผู้กระทําความผิด และสั่งห้ามเผาในที่ โล่งแจ้งทุกชนิด
และให้สําเนาคําสั่งมอบหมายข้าราชการตํารวจของแต่ละสถานีตํารวจภูธร พร้อมหมายเลข
โทรศัพท์ ให้ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM
2.5 จังหวัดเลย ทราบ เพื่อประสานการปฏิบัติ
สนับสนุนหน้ากากป้องกันฝุ่นแก่กลุ่มเสี่ยงและทํางานกลางแจ้ง
(ใช้หน้ากาก อนามัย 2 ชั้น แทนหน้ากาก N55) ประชาสัมพันธ์ให้สถานที่ราชการ
โรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ โรงเรียน ได้เตรียมห้องปลอดฝุ่น ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานงดกิจกรรมกลางแจ้ง
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบว่าได้ดําเนินการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มาตรา 31 หรือไม่ หากได้ดําเนินการแล้ว
ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทบทวนแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นปัจจุบัน
โดยให้สอดคล้องกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน กรณีที่ยังมิได้ดําเนินการออก ข้อบัญญัติ
ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งรัดดําเนินการออกข้อบัญญัติในเรื่องดังกล่าว
และบังคับใช้ ข้อบัญญัติอย่างเคร่งครัด
ให้สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลย ตรวจสอบการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
ขอความร่วมมือให้โรงงานน้ำตาลภายในพื้นที่งดรับซื้ออ้อยเผาจนกว่าฝุ่นละออง
PM 2.5 ลดลง ให้สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเลย
ดำเนินการตรวจสอบ
ควบคุม
แหล่งกําเนิดมลพิษที่เป็นต้นกําเนิดหมอกควันและฝุ่นละอองให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยเคร่งครัด
พร้อมทั้งติดตาม กํากับ ดูแลป้องกันไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ
และประสานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในจังหวัดเลย สนับสนุนอัตรากําลัง
เจ้าหน้าที่เข้าควบคุม และดับไฟร่วมกับหมู่บ้าน และอําเภอเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้น
ให้นายอําเภอทุกอําเภอ
สั่งการตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ให้ส่วนราชการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กํานัน และผู้ใหญ่บ้าน ดําเนินการป้องกันและสำรวจแหล่งกําเนิดปัญหาฝุ่นละออง
PM 2.5 แล้วรายงานให้ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก
PM 2.5 จังหวัดเลย ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลในการป้องกันและใช้มาตรการทางด้านกฎหมาย
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน , ให้สํานักงานขนส่งจังหวัดเลย
เข้มงวดตรวจจับรถควันดำ และเข้มงวดการตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด , ให้แขวงทางหลวงเลยที่ 1 และแขวงทางหลวงเลยที่
2 ทําความสะอาดผิวจราจร ทำความสะอาดเส้นทางในความรับผิดชอบ
ทั้งการกวาดถนนและฉีดล้างทําความสะอาดพื้นผิวถนกำจัดฝุ่น โดยให้ปฏิบัติอย่างเป็นประจําสม่ำาเสมอ
และต่อเนื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น