เมื่อวันที่ 30
มีนาคม 2563 นายเชษฐา
โมสิกรัตน์ รองอธิบดี
ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ลงนามในโทรสารกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง
ที่ มท (กปภก) ๐๖๑๐/ว ๕๒ ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์
นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ น่าน แพร่ พิษณุโลก กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ
มหาสารคราม บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์
หนองคาย หนองบัวลําภู อํานาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา
สระบุรี ลพบุรี นนทบุรี และปทุมธานี
กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง
(กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณา ปัจจัยเสี่ยง กอปรกับกรมอุตุนิยมวิทยา
ได้มีประกาศฉบับที่ ๑ (๔๖/๒๕๖๓) ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐ เวลา 09.00 น. แจ้งว่า
บริเวณความกดอากาศสูงจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้
รวมทั้งมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนําความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด
ทําให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมี ลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง
และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ สําหรับพื้นที่
เฝ้าระวังสถานการณ์วาตภัย ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ระหว่างวันที่ ๑ - ๔ เมษายน
๒๕๖๓ ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ น่าน แพร่
อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ ขอนแก่น
ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ มหาสารคราม บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด
เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลําภู อํานาจเจริญ อุดรธานี
และอุบลราชธานี
ภาคกลาง จ.จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด
นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี
ลพบุรี นนทบุรี และปทุมธานี
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์
ขอให้จังหวัดดําเนินการ แจ้งประชาชนในพื้นที่ให้ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศ ปริมาณฝน
และข่าวสารจากทางราชการ
รวมทั้งเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ที่จะเกิดขึ้น
โดยแนะนําการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย ตรวจสอบบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพแข็งแรง
จัดเก็บสิ่งของและหาสิ่งปกคลุมผลผลิตทางการเกษตร วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่างๆ
ได้แก่ สภาวะอากาศ ปริมาณฝน และปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่
รวมทั้งประสานและบูรณาการหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่าย และภาคเอกชน
เพื่อเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลสาธารณภัยและแผนเผชิญเหตุ
สําหรับให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมง
หากข้อมูลคาดการณ์สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบต่อไป
หรือสอบถามเพิ่มเติม ไปที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โทรศัพท์หมายเลข ๐ ๒๓๕๙
๔๑๑๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น