เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563
พ.อ.สมหมาย บุษบา รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 28 ค่ายศรีสองรัก
และรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใจ จ.เลย (กอ.รมน.เลย) พร้อมด้วยกำลังพล
บูรณาการสนธิกำลังร่วมกับศูนย์ป่าไม้จังหวัดเลย , สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเลย หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ด่านซ้าย ตำรวจ สภ.โคกงาม อ.ด่านซ้าย และกำลังพลจากกองร้อยทหารพรานที่ 2213 โดยการอำนวยการของ พ.อ.พิทักษ์พล ชูศรี ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 22 ลงพื้นที่สนับสนุนภารกิจตัดฟันพืชผลอาสิน ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า
และป่าภูเรือ พื้นที่ 610 ไร่เศษ จำนวนต้นยางพารา
42,700 ต้น อายุประมาณ 10 ปี ท้องที่หมู่ 4
ต.โคกงาม อ.ด่านซ้าย จ.เลย ซึ่งผ่านกระบวนการตรวจยึดตามกฎหมายแล้ว
พ.อ.สมหมาย
บุษบา กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ครั้งนี้
ได้ดำเนินการตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 หลังจากการตรวจยึดสวนยางพาราที่บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันของประชาชนผู้อยู่อาศัยในเขตป่า
โดยมุ่งหวังให้เกิดความผาสุกของชีวิตในการดำรงชีพ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
บนพื้นฐานของความยั่งยืนในที่ทำกินและอาชีพ
โดยรัฐ จะได้มีเป้าหมายพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น และพื้นที่สีเขียวในอีก 20 ปีข้างหน้า
โดยต้องใช้พื้นที่ป่าน้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
ผ่านการออกแบบที่กลมกลืนกับธรรมชาติ
เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนได้ในอนาคตต่อไป
ทั้งนี้ มาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ระบุว่า เมื่อได้กำหนดป่าใดเป็นป่าสงวนแห่งและรัฐมนตรีได้แต่งตั้งพนักเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาตินั้นแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่อำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดออกจากป่าสงวนแห่งชาติ หรือให้งดเว้นการกระทำใดๆ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงปรากฏหรือเหตุอันควรสงสัยว่า มีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(2) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินี้รื้อถอน แก้ไขหรือทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตราย หรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมสภาพในเขาป่าสงวนแห่งชาติภายในเวลาที่กำหนดให้
(3) ยึด ทำลาย รื้อถอน แก้ไขหรือทำประการอื่นเมื่อผู้กระทำผิดไม่ปฏิบัติตาม(2) ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิดหรือรู้ตัวผู้กระทำผิดแต่หาตัวไม่พบ
(4) ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เห็นสมควร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียแก่ป่าสงวนแห่งชาติ ในกรณีที่มีเห็นฉุกเฉิน
(2) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินี้รื้อถอน แก้ไขหรือทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตราย หรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมสภาพในเขาป่าสงวนแห่งชาติภายในเวลาที่กำหนดให้
(3) ยึด ทำลาย รื้อถอน แก้ไขหรือทำประการอื่นเมื่อผู้กระทำผิดไม่ปฏิบัติตาม(2) ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิดหรือรู้ตัวผู้กระทำผิดแต่หาตัวไม่พบ
(4) ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เห็นสมควร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียแก่ป่าสงวนแห่งชาติ ในกรณีที่มีเห็นฉุกเฉิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น