เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563
ที่โรงแรมเลยพาเลซ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2
(ปัจฉิมนิเทศโครงการ) โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โครงการบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล
โดยแรงโน้มถ่วงระยะที่ 1 ซึ่งมีผู้แทนชุมชน ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมประชุม
โดยโครงการนี้ มีที่ตั้งหัวงานอยู่บริเวณใกล้กับปากแม่น้ำเลย
ตำบลเชียงคาน และตำบลปากตม อ.เชียงคาน
จ.เลย
และใกล้กับโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำได้กำแผนดำเนินการผันน้ำจากแม่น้ำโขงเข้าสู่ลงสู่อุโมงค์และคลองส่งน้ำไปยังพื้นที่ทางการเกษตร
ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 1.69 ล้านไร่ 27 อำเภอ 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น
ชัยภูมิ และกาฬสินธุ์
ใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง 6 ปี ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 98,780
ล้านบาท (เก้าหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยแปดสิบล้านบาทถ้วน)
ทั้งนี้ ระหว่างการเปิดประชุม ได้มีตัวแทนชาวบ้านกลาง ต.ปากตม อ.เชียงคาน
จ.เลย ในนามกลุ่มฮักแม่น้ำเลย
จำนวนกว่า 10 คน
ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำศรีสองรัก
ประกอบด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน
, สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สำนักงบประมาณ และผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
เพื่อให้ทบทวนการศึกษาผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่จังหวัดเลย
หนังสือฉบับดังกล่าวระบุว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเลย ขนาด
3.8 ริกเตอร์ ที่ความลึก 5 กิโลเมตร เวลา 21:37 น. ศูนย์กลางที่ อ.เมือง จ.เลย
การรับรู้การสั่นสะเทือน อ.เมือง อ.ท่าลี่ อ.เชียงคาน
ซึ่งเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนเลยในรูปแบบการเลื่อนตามแนวระนาบเลื่อนขวา
ที่วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ ต่อยาวเข้าไปในสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
มีความยาวประมาณ 100 กม. ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออก และขนาดกับรอยเลื่อนเพชรบูรณ์
และมีโอกาสเป็นรอยเลื่อนพลังงาน และเคยเกิด
เหตุการณ์แผ่นดินไหวในลักษณะเช่นนี้ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2562 ขนาด
3.9 ริกเตอร์ วันที่ 17 ต.ค. 2562 ขนาด
2.6 ริกเตอร์ วันที่ 8 มี.ค. 2561 ขนาด
3.4 ริกเตอร์ และวันที่ 31 พ.ค. 2560 ขนาด 3.3 8 ริกเตอร์
เกิดที่สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
แต่ประชาชนในจังหวัดเลยรู้สึกแรงสั่นสะเทือนได้เช่นเดียวกัน
ในกรณีการทำโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก อ.เชียงคาน จ.เลย
เป็นโครงการที่ไม่ได้ผ่านการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)
ซึ่งในกระบวนการทำ EIA ต้องมีการศึกษาทรัพยากรทางกายภาพ
พร้อมทั้งศึกษาภูมิศาสตร์ในพื้นที่อย่างละเอียด ในด้านธรณีวิทยา
เช่นการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ต้องมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหนือเขื่อน
ต้องศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาเพื่อไม่ให้น้ำที่เก็บกักไหลหรือรั่วซึมลงไปใต้ดิน
ลักษณะหินต้องรองรับการสร้างเขื่อน ต้องศึกษาด้านการเกิดแผ่นดินไหวด้วย
เพราะอาจก่อให้เกิดการพังทลาย ซึ่งเห็นถึงเห็นผลในความจำเป็นต้องมีการศึกษาEIA
ได้ชัดเจน
ในการนี้ กลุ่มฮักแม่น้ำเลย
จึงมีความกังวลจากสถานการณ์การเกิดแผ่นดินไหวที่มีต่อเนื่องมาหลายปี และโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก
มีการใช้ระเบิดในการดำเนินโครงการ อาจส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวถี่มากขึ้น
พร้อมทั้งหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ อาจจะเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง
จึงมีข้อเสนอให้กรมชลประทานจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)
โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ 2560 และให้ชะลอกิจกรรมการปรับสภาพพื้นที่และการระเบิดหินในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนไปก่อนจนกว่าจะมีการศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้นสมบูรณ์ หนังสือระบุ
นายเกรียงไกร สิงห์หฬ กรรมการกลุ่มฮักแม่น้ำเลย เปิดเผยว่า โครงการโขง เลย ชี มูล
เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเชื่อว่ามีโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำศรีสองรักเป็นส่วนหนึ่งด้วย
แต่การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือทางสังคม ดำเนินโครงการแยกออกจากกัน
จากการศึกษาเอกสารโครงการแล้วพบว่า จังหวัดเลยแทบจะไม่มีพื้นที่ได้รับประโยชน์
มีเพียงแค่ผลกระทบเท่านั้นที่ได้รับ
เพราะน้ำส่วนใหญ่จะผันไปใช้ในพื้นที่ภาคอีสานตอนกลางและตอนล่าง
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านก็ไม่ได้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะชาวบ้านกลาง
ทางผู้จัดเวทีรับความคิดเห็นในครั้งนี้ ไม่ได้ถูกรับเชิญเข้าร่วม
ทั้งๆที่อยู่ในพื้นที่หัวงานก่อสร้าง
ชาวบ้านกลาง
ในนามกลุ่มคนฮักแม่น้ำเลยขอคัดค้านการก่อสร้างทั้งสองโครงการ
ที่จะทำให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องถูกทำลาย
แม่น้ำเลยเสมือนเป็นตู้กับข้าวของชาวบ้านจะต้องสูญสลายไป ผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ระบบนิเวศ
ปากแม่น้ำเลยกับแม่น้ำโขง จะถูกตัดขาดไปด้วย นางเกรียงไกรกล่าว
ด้านนายสราวุธ
ชีวประเสริฐ
ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า โครงการระบายน้ำศรีสองรัก
ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล
ในการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ได้นำเอาประเด็ความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่หัวงานมาศึกษาด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า
แม้จังหวัดเลยจะมีรอยเลื่อนพาดผ่าน แต่ความรุนแรงมีเพียง 2 –
4 ริกเตอร์เท่านั้น
การก่อสร้างได้มีมาตรฐานรองรับได้อยู่แล้ว หากแผ่นไหวรุนแรงขนาด 5 ริกเตอร์ขึ้นไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างฐานรากของสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำ
แต่สำหรับอุโมงค์ส่งน้ำไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น