เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2565 ที่ห้องประชุมศรีสองรักชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเลยหนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านเศรษฐกิจ เป็นประธาน การประชุม ความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG MODEL สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตรหอการค้าไทย พร้อมคณะประกอบด้วย นายกลินทร์ สารสิน ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง โดยมีนายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภาคเอกชน ร่วมประชุม
ในการประชุมครั้งนี้
ตัวแทนผู้ประกอบการท่องเที่ยวอำเภอเชียงคาน
ได้นำเสนอแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว เริ่มเปิดให้บริการ
โดยเอกสารการนำเสนอระบุว่า
ประเทศจีน และประเทศลาว เพิ่งจะเปิดเส้นทางเดินรถไฟความเร็วสูง ที่เชื่อมคุนหมง กับนครหลวงเวียงจันทน์
อย่างเป็นทางการ เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 ตามข้อมูลของสือทางการจีน มีผู้โดยสารในฝั่งประเทศจีนมาใช้บริการแล้วกว่า
300,000 คน และประเทศลาวมีผู้ใช้บริการไปกว่า
5,000 คน ในช่วง 5 วันแรก
เส้นทางรถไฟลาว-จีน มีทั้งหมด 72 สถานี ทั้งสถานีรับส่งผู้โดยสารและสถานีขนส่งสินค้า
ปัจจุบันเปิดบริการรับส่งผู้โดยสารในฝั่งลาว แล้ว 6 สถานี ได้แก่ บ่อเต็น เมืองไซ
หลวงพระบาง วังเวียง โพนโฮง และนครหลวงเวียงจันทน์ ระยะเวลา เดินทางยาวสุดคือ 4
ชั่วโมง 20 นาที จากเวียงจันทน์ถึงบ่อเต็น หากเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถโดยสารแล้วต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า
13 ชั่วโมง บนระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงจากวังเวียงมายังบ้านคกไผ่
อําเภอปากชม จังหวัดเลย สามารถเชื่อมโยงเส้นทางมายังอําเภอเชียงคาน อําเภอเมืองเลย
และพื้นที่อื่นๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์เศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ เชียงคานจึงต้องจะมีสิ่งดึงดูด สร้างกิจกรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยการดำเนินโครงการรถรางริมโขง การขนส่งด้วยรถไฟฟ้ารางเบา ( LRT )/ รถไฟรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล คือ รูปแบบหนึ่งของการขนส่งนักท่องเที่ยว โดยในระยะที่ 1 เริ่มจากแก่งคุดคู้ ไปยังลานวัฒนธรรมเชียงคาน ทําให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังแก่งคุดคู้ ลดการการคับคั่งของการจราจรในพื้นที่ท่องเที่ยว มุ่งเน้น พัฒนาระบบจราจรและขนส่ง ให้นักท่องเที่ยวได้ชมทัศนียภาพแม่น้ำโขง และเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ถนนริมโขง ถนนที่ชาวเชียงคานใช้ออกวิ่งออกกําลังกาย ขี่จักรยาน และนักท่องเที่ยวชมพระอาทิตย์ตก ตอบรับการดําเนินการหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) สําหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ ประชาชนมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีความสุขในการดํารงชีวิต
มีเคเบิ้ลหรือรถกระเช้าไฟฟ้าชมวิว
นั่งเคเบิ้ลลอยฟ้าชมวิวสวยงาม พื้นป่าภูเขาแก้ว แม่น้ำโขง จากภูทอก ภูหมอก
ภูควายเงิน และถ้ำผาแบ่น เพื่อขยายพื้นที่การท่องเที่ยว
อนุรักษ์และดูแลพื้นป่าสงวนของเชียงคาน เพิ่มการสร้างงานในพื้นที่
ยกระดับเพิ่มคุณภาพชีวิตชุมชน สร้างกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยว ลดการการคับ
คั่งของการจราจรในพื้นที่ท่องเที่ยว มุ่งเน้นพัฒนาระบบจราจรและขนส่ง
ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและ สภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ําเชียงคาน (Aquariนm
Chiangkhan) เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีเหมาะแก่เยาวชน
และประชาชน นักท่องเที่ยวชาวไทย และต่างประเทศ
ที่จะเข้ามาอนุรักษ์และศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ ของ สัตว์น้ําและสภาพนิเวศของสัตว์น้ํา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์น้ําที่อยู่ในแม่น้ําโขง
ไลท์ อินทีเรีย สําหรับวัดบนถนนคนเดิน
ถนนคนเดินเชียงคานซึ่งเป็นสถานที่แรกๆ ที่
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกที่จะมาเที่ยวเชียงคาน การประดับแสง สี
ให้กับวัดต่างๆบนถนนคนเดิน เพิ่มสีสัน ให้กบถนนคนเดินในยามค่ําคืน
เพิ่มแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มการสร้างงาน เพิ่มรายได้ในพื้นที่ ยกระดับเพิ่มคุณภาพ
ชีวิตชุมชน รองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในพื้นที่ท่องเที่ยวเชียงคาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น